วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บ้านเราสร้างค่านิยมในสายอาชีพด้าน IT กันถูกหรือไม่ (Thai IT Career Path rigth or wrong?)

ยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ที่เป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราซึ่งทำงานเรื่อยๆ กลับกลายเป็นคนล้าหลัง โดยไม่คาดคิดไม่ใช่เพราะเราหัวโบราณ แต่เป็นเพราะเราไม่รู้ว่าโลกนั้นก้าวหน้าไปรวดเร็วคนเรามีความคิดและชีวิตแตกต่างกัน สิ่งแวดล้อมต่างกัน งานอดิเรกต่างกันแต่สิ่งหนึ่งที่คนในวงการคอมฯ ต้องตระหนักคือ บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแตกต่างจากบริบทในวงการอื่น เช่น วงการนิติศาสตร์ วงการรัฐศาสตร์ ที่นานๆจะเปลี่ยนกฎหมาย เปลี่ยนระบอบการปกครอง ซักทีถามว่าผิดไหม ถ้าไม่ปรับตัวตามกระแส ก็ต้องตอบได้เลยว่า ไม่ผิดแต่ Value ของคุณจะต่ำโดยธรรมชาติของยุคสมัยไปเองดังนั้นสิ่งที่เราทำกันอยู่ คือ การเปลี่ยน career path ไปส่วนงานที่ไม่ใช้ทักษะเชิงเทคนิคสังเกตว่าบ้านเรา ไม่มีตำแหน่งวิศวะกรอาวุโส ไม่มีโปรแกรมเมอร์ประสบการณ์สูงมีอายุ ไม่มี SA อายุ 50แต่หลายๆคนก็จำใจเปลี่ยน เพราะเรื่องเงินเดือนเรานิยมเรียนต่อ MBA เพื่อเลี่ยงการปรับตัวตลอดเวลาต่อเทคโนโลยี และคาดหวังจะเป็นหัวหน้าคน หรือเงินเดือนสูงๆ นอกจากนั้นยังมีค่านิยมที่เห็นว่าการบริหารใช้สมองมากกว่าเชิงเทคนิค (ที่ใช้แรงงาน)เราจึงขาดคนที่เข้าใจต่อปัญหาการผลิตซอฟต์แวร์อย่างมาก เพราะคนที่มีประสบการณ์เปลี่ยนไปสายบริหารพอไม่ได้ใช้นานๆ ก็ลืม น่าเสียดายความรู้และประสบการณ์เชิงเทคนิคอยากฝากให้พวกเราช่วยตระหนัก และเรียกร้องให้ผู้ใหญ่ส่งเสริม Career Path เชิงเทคนิค เพื่อให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยก้าวไกลกว่านี้ครับ

จากรูปด้านบนจะเห็นได้ว่า ตำแหน่งงานในวงกลมสีเขียวส่วนมาก (คิดว่ามากกว่า 95% - ความคิดเห็นส่วนตัว รอคนทำสถิติอยู่) จะย้ายตำแหน่งไปเป็นสายเชิงบริหารในอนาคต ทำให้ตำแหน่งงานในวงกลมสีแดงขาดแคลนอย่างมาก ซึ่งเป็นเพราะปัจจัย 2 อย่าง คือ เงินเดือนในตำแหน่งนั้นๆ เทียบกับตำแหน่งที่ทำได้ในสายอื่นๆ และความรู้ของคนที่จะมาทำขอยกคำพูดขอ ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ซอฟต์แวร์ปาร์ค เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว มาเป็นอุทธาหรณ์ดังนี้ครับ "......บุคลากรไอทีทั่วโลกมี 30 ล้านคน มีคนที่เป็น SA อยู่ประมาณ 1% ส่วนไทยมีบุคลากรไอที 35,000-40,000 คน ใช้บัญญัติไตรยางค์ก็จะได้ออกมาประมาณ 300-400 คน ตัวเลขกลมๆ และจากผลสำรวจพบว่า 70% ของสาเหตุที่ระบบไอทีล่มเหลวคือขาด SA ที่เชี่ยวชาญ........."เป็นคำถามฝากให้คิดกันต่อไปแล้วกันครับว่า ที่ ดร.รอม พูดคำว่า SA ที่เชี่ยวชาญ นั้น หมายถึง SA ที่มีบทบาทหน้าที่อย่างไร เพราะหลายองค์กร จะให้ SA ทำหน้าที่ทั้ง Business Analyze, Software Design หรือบางทีอาจเหมือน Documentator หรือ Coordinator ไปเลยก็มี

ไม่มีความคิดเห็น: