วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เคล็ดลับ วิธีดูแลโน๊ตบุ๊คคู่ใจ ให้อยู่กับคุณไปนาน ๆ




วิธีดูแล โน๊ตบุ๊ค คู่ใจ ให้อยู่ข้างกายไปนาน...นาน ไม่ว่าจะเป็น โน๊ตบุ๊ค หรือของใช้อะไรก็ตาม จำเป็นที่เราจะต้องทำความรู้จักสิ่งนั้นให้มากที่สุดเพื่อที่จะได้เรียนรู้ และเข้าใจถึงจุดเด่น ศักยภาพ ความสามารถและข้อจำกัด รวมไปถึงจุดอ่อนที่พึงระวัง

ฉบับ นี้ขอนำข้อมูลจากบทความ "รอบทิศไอที" ของ สุรพงษ์ เกียรติพงสา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มานำเสนอเกี่ยวกับวิธีการดูแลโน้ตบุ๊ก เพื่อให้มีอายุการใช้งานไปนาน และคุ้มค่าการลงทุน เช่นต้องดูว่า โน๊ตบุ๊คที่ใช้อยู่นั้นทำมาจากวัสดุแบบไหน แข็งแรงหรือเปราะบางแค่ไหน ถ้าเกิดมีปัญหาที่ตัววัสดุแต่ละชิ้นจะมีอะไหล่ที่หาเปลี่ยนได้ง่ายหรือไม่ การปรับเปลี่ยนเพิ่มอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของโน้ตบุ๊กทำได้ง่ายหรือไม่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องเรียนรู้ให้มากที่สุดก่อน ตัดสินใจซื้อ และการดูแลแหล่งพลังงานของโน๊ตบุ๊คและปลุกให้กระชุ่มกระชวยตลอดเวลาถือเป็น เรื่องสำคัญ

ถ้าอาหาร คือแหล่งพลังงานของคน แบตเตอรี่ก็คือแหล่งพลังงานของ โน๊ตบุ๊ค ดังนั้นจึงควรดูแลแบตเตอรี่ของโน๊ตบุ๊คให้ดีเพื่อให้สามารถจ่ายพลังงานให้ กับโน้ตบุ๊กต่อการใช้งานครั้งหนึ่งได้นานๆ ขณะที่บางคนกังวลว่า ควรถอดแบตเตอรี่ออกหรือไม่เวลาต่อ โน๊ตบุ๊คแล้วใช้พลังไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟ โน๊ตบุ๊ค รุ่นใหม่ๆ มีระบบป้องกันแบตเตอรี่ที่ค่อนข้างดี ทำให้ไม่ต้องกังวลเวลาใช้งาน โน๊ตบุ๊คที่ใส่แบตเตอรี่ทิ้งไว้แล้วต่ออะแดปเตอร์กับไฟบ้าน ซึ่งเป็นกรณีเดียวกับที่เวลาชาร์จไฟแบตเตอรี่เต็มแล้วต้องถอดอะแดปเตอร์ออก ไหม? หายกังวลได้เลย เพราะแบตเตอรี่รุ่นใหม่ๆ จะมีวงจรที่ช่วยจัดการเรื่องพวกนี้ให้อยู่แล้ว

โดยปกติแบตเตอรี่ โน๊ตบุ๊คจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปี แต่กับบางยี่ห้อที่ดีๆ ก็อาจยาวนานไปถึง 6 ปีเลยก็ได้ สำหรับใครที่อยากจะยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ให้ยาวนานเต็มประสิทธิภาพ ไม่เดี้ยงไปซะก่อนครบรอบอายุการใช้งาน มีคำแนะนำดังนี้ อย่างแรกคือ แบตเตอรี่ เป็นพวกไม่ชอบอากาศร้อน เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรเก็บแบตเตอรี่ หรือใช้ โน๊ตบุ๊ค ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน โดยอุณหภูมิที่จะช่วยรักษาสภาพของแบตเตอรี่ไว้ได้ยาวนานคือประมาณ 25 องศาเซลเซียส

อันดับต่อมา เวลาที่จะต้องชาร์จแบตเตอรี่ครั้งใหม่ ไม่ควรรอให้แบตเตอรี่หมดเกลี้ยงแล้วค่อยนำมาชาร์จ (ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ) ควรชาร์จไฟใหม่ เมื่อมีการใช้งานแบตเตอรี่ไปสักครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 50-60% เพราะจะช่วยไม่ให้เกิดความร้อนสะสมอันเป็นตัวนำมาซึ่งการเสื่อมสภาพของ แบตเตอรี่ และควรระมัดระวังการทำแบตเตอรี่หล่นบนพื้นแข็งๆ หรือเกิดการกระแทกอย่างรุนแรง เพราะจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของแบตเตอรี่ได้ แบตเตอรี่ปลอมก็เป็นอีกสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงและต้องระมัดระวัง เพราะนอกจากส่งผลต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คแล้ว ยังอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานด้วย เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร การไหม้ หรือระเบิดได้

นอกจาก นี้ยังมีอีกหลายประเด็นที่ผู้ใช้งานโน๊ตบุ๊ค ควรใส่ใจ เพื่อป้องกันปัญหา โดยเฉพาะเรื่อง "ความร้อน" ซึ่งแทบจะเป็นสาเหตุต่างๆ ของปัญหาระหว่างการใช้งานโน๊ตบุ๊คเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นอาการแฮงก์ ค้างไปเฉยๆ ระหว่างการทำงาน เรื่องของพลังงานที่โน๊ตบุ๊คต้องจัดการจ่ายให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องที่เป็นข้อจำกัด ทำให้ต้องรู้จักจัดการเรื่องการใช้พลังงานภายในเครื่องโน๊ตบุ๊คอย่างดี เพื่อช่วยให้การทำงานที่ราบรื่นและการยืดอายุการใช้งานโน๊ตบุ๊คได้อีกด้วย อย่างเรื่องการแชร์หน่วยความจำเครื่องให้กับหน่วยประมวลผลกราฟิก ควรแชร์ให้เท่าที่ความจำเป็นต่อการใช้งาน ยกตัวอย่าง ใช้โน๊ตบุ๊คพิมพ์งานเอกสารทั่วไป เล่นเน็ต ฟังเพลง ก็แชร์แรมไปให้กราฟิกแค่ 8 Mb ก็น่าจะเพียงพอ แต่ถ้าเริ่มดูหนัง เล่นเกมออนไลน์ ก็สัก 16-32 Mb แต่ถ้าเริ่มมีภาพ 3D หรือใช้โปรแกรมกราฟิกเล็กๆ น้อยๆ ก็ต้อง 64Mb ขึ้นไป หรืออย่างเวลาไม่ได้ใช้งานฟังก์ชั่นไร้สายต่างๆ เช่น Wi-Fi, Bluetooth หรือแม้แต่อินฟราเรด ก็ควรปิดการใช้งานไปซะ จะช่วยลดการใช้พลังงานภายในเครื่องได้อีกเยอะ

ที่มา :ประชาชาติธุรกิจ

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ไขปริศนาเลขบัตรประชาชนไทยทั้ง 13 หลัก อยากรู้มั้ย ว่าแต่ละตำแหน่งหมายถึงอะไร

13 เลขนี้ มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้


โดย ความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเรียนหรือทำอะไร ตัวเลขก็ล้วนมีเอี่ยว หรือมายุ่งเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนเราเสมอ และในทางกลับกัน ตัวเลขบางตัวอาจจะทำให้เรามีความสุขขึ้นด้วยซ้ำ เช่น ตัวเลขเพิ่มขึ้นของเงินเดือนหรือโบนัส ตัวเลขในบัญชีรายรับ ตัวเลขมูลค่าเพิ่มของหุ้นที่เราซื้อ ฯลฯ ยกเว้น ตัวเลขดอกเบี้ยเงินกู้ ที่งามโดยไม่ต้องรดน้ำ หรือตัวเลขยอดหนี้ที่ยังไม่จ่าย ส่วนตัวเลขที่น่ารังเกียจอีกตัว คือ ตัวเลขอายุที่เพิ่มขึ้นของสาวๆ ที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น


นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมี “ตัวเลข” ที่ เกี่ยวพันกับความเชื่อต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศอีกหลายตัว เช่น คนไทยถือว่า เลข 9 เป็นเลขมงคล เพราะออกเสียงว่า “เก้า” ที่พ้องกับคำว่า “ก้าว” อันหมายถึง ความเจริญก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้ ในปัจจุบัน เราจึงเห็นคนไทยจำนวนไม่น้อย ไปทัวร์ไหว้พระ 9 วัดเพื่อความเป็นสิริมงคล จนได้กลายมาเป็นการ “ทำบุญ” อีกรูปแบบที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย


สำหรับฝรั่ง เขาจะถือว่า เลข 13 เป็นเลขอาถรรพ์ หรือเลขอัปมงคล หรือเรียกกันว่า ลัคกี้นัมเบอร์ (Lucky number) สาเหตุมาจากอาหารมื้อสุดท้าย ของพระเยซูคริสต์ ที่เรียกกันว่า เดอะลาสซับเปอร์ (The Last Supper) นั้น มีสาวกร่วมโต๊ะพร้อมกับพระองค์ นับรวมแล้วได้ 13 คนพอดี ครั้นวันรุ่งขึ้นซึ่งตรงกับวันศุกร์ พระองค์ก็ถูกจับตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เขาจึงถือว่าวันศุกร์ที่ตรงกับวันที่ 13 เป็นวันโชคร้าย


แม้ว่า เลข 13 จะเป็นเลขอาถรรพ์ของฝรั่ง แต่คนไทยโดยทั่วไป ไม่ได้ถือกับตัวเลขดังกล่าว และที่น่าสนใจคือ มี เลข 13 ที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคนไทย ซึ่งเชื่อว่า คงมีคนอีกไม่น้อยไม่เคยทราบมาก่อน นั่นคือ เลขประจำตัวประชาชนในบัตรประชาชน หรือที่เดี๋ยวนี้เรียก สมาร์ทการ์ด ที่มีด้วยกัน 13 หลัก และแต่ละหลักก็มิใช่แค่เป็นเพียงจำนวนนับธรรมดาๆ แต่มีความหมายแฝงอยู่ด้วย ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอนำมาเสนอเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้


สมมุติว่า เลขบัตรประชาชนของเราเขียนไว้ว่า 1 1001 01245 29 9 (เขียนเว้นวรรค ตามแบบ) แต่ละหลักก็จะมีความหมายดังนี้

หลักที่ 1 (คือหมายเลข 1 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่

ประเภทที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมาย ความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคน ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมา ตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะเป็นเลขประจำตัว เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี

ประเภทที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมาย ความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วบังเอิญว่าพ่อแม่ผู้ปกครองลืมหรือติดธุระ ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลัง เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 และจะมีเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 ทันที เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า


ประเภทที่ 3 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527) หมาย ความว่า บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9


ประเภทที่ 4 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก หมาย ความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัว ก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่น ก่อนช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในสำนักทะเบียนเขตคลองสาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2527 ส้มจี๊ดก็ขอย้ายบ้านไปเขตดุสิต โดยที่ส้มจี๊ดยังไม่ทันได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสาน พอแจ้งย้ายเข้าเขตดุสิต ส้มจี๊ดก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 4 มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย 4 กลายเป็น 4 1001 01245 29 9 ทันที แต่ถ้าส้มจี๊ดย้ายจากเขตคลองสานเดิม ไปเขตดุสิต หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ส้มจี๊ดก็ยังเป็นบุคคลประเภท 3 อยู่ เพราะถือว่าจะได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสานแล้ว จะย้ายอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง


การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำ ตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 อันเป็นวันสุดท้าย ของการดำเนินการให้ประชาชน ที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้าน ได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น ช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 แล้ว ทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวเพื่อสำแดงตนว่า เป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี ซึ่งมีอีก 4 ประเภท คือ


ประเภทที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ เข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดุสิตอยู่แล้ว แต่บังเอิญว่าตอนที่มีการสำรวจรายชื่อผู้อยู่ในบ้าน เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้ชื่อของส้มจี๊ดหายไปจากทะเบียนบ้าน เมื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่และตรวจสอบแล้วว่าตกสำรวจจริง หรือจะเป็นเพราะกรณีอื่นใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็จะเพิ่มชื่อให้ แต่ส้มจี๊ดก็จะมีหมายเลขในทะเบียนบ้านเป็นบุคคลประเภท 5 และบัตรประชาชนจะขึ้นต้นด้วยเลข 5 ทันที คือ กลายเป็น 5 1001 01245 29 9
ไขปริศนาเลขบัตรประชาชนไทยทั้ง 13 หลัก อยากรู้มั้ย ว่าแต่ละตำแหน่งหมายถึงอะไร

ประเภทที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าว คือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย เพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดน หรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทย จึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา คนทั้งสองแบบที่ว่า ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6 เลขประจำตัวในบัตรจะขึ้นต้นด้วยเลข 6 เช่น 6 1012 23458 12


ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7 เช่น 7 1012 2345 133


ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน คนกลุ่มนี้เลขในทะเบียนประวัติจะขึ้นด้วยเลข 8 เช่น 8 1018 01234 24 7


คนทั้ง 8 ประเภทนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประชาชนได้ ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประชาชนให้

ต่อไปคือ หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง รหัสของสำนักทะเบียน หรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ เช่น ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่า คุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ในเขตดุสิต เพราะ 10๐ ในหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4 และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น

สำหรับ หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (เลข 01245 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภท ตามหลักแรก (หลักที่ 1) ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่ง ก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับ หรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบัน เลขดังกล่าวก็จะหมายถึง เล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะไปปรากฎในบัตรประชาชน เมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น


หลักที่ 11 และ 12 (หมายเลข 29 ในตัวอย่างสมมุติ) จะหมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท เป็นการจัดลำดับว่าเราเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ


หลักที่ 13 (เลข 9 ตัวสุดท้ายในตัวอย่าง) จะหมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกอีกที


สำหรับ เลขตั้งแต่หลักที่ 6 ถึง 13 นี้เป็นการจัดหมวดหมู่ และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่ ซึ่งเราก็คงไม่ต้องรู้รายละเอียดอะไรลึกไปกว่านี้ เพราะรู้แล้วอาจจะงงเปล่าๆ


เป็นเรื่องน่าแปลกว่า ตัวเลข 13 หลักที่เป็นหมายเลขในบัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวประชาชนของเราแต่ละคนนี้ จะไม่มีการซ้ำกันเลย ผิดกับชื่อหรือนามสกุล ยังมีซ้ำกันได้ และจะเป็นเลขประจำตัวเราจนตาย ไม่มีการเปลี่ยน หรือยกให้คนอื่น และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ในอนาคตจะต้องมีการเติมเลข อย่างเลข 8 เข้าไปอีก เพราะเลขไม่พอใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือหรือไม่ เขาก็บอกว่าคงอีกนาน อาจจะถึง 100 ปีโน่น เพราะการที่เขาแยกแยะบุคคลเป็นประเภทต่างๆ และยังแยกย่อยเป็นจังหวัดอำเภอ แล้วลงรายละเอียดไปเป็นกลุ่มๆในแต่ละประเภทอีกนั้น ทำให้เพดานหรือช่วงตัวเลขมีความห่างมาก จนสามารถรองรับจำนวนคนได้อีกมาก และหากใครสงสัย หรือมีปัญหาในเรื่องทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ก็สามารถสอบถามไปได้ที่ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โทร. 1548


ตัวเลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น เป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้ แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ยก

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รักแท้ของชายคนหนึ่ง


ณ โรงเรียนแห่งหนึ่ง.. มีเพื่อนต่างเพศอยู่คู่หนึ่ง เป็นเพื่อนที่รักกันมาก
ฝ่ายชายจะเดินไปส่งฝ่ายหญิงที่บ้านเสมอทุกวัน
เวลาผ่านไป จนทั้ง สองอยู่ มหาวิทยาลัย
ฝ่ายหญิงเริ่มไปแอบชอบ ผู้ชายคนนึง และได้ถามเพื่อนชายว่า
"นี่ เธอ ว่า เค้าเหมาะกับเราไหม"
"เค้าก้อ หล่อดีนะ นิสัยก็ดีด้วย "
"เหรอ! อืม อยากให้เค้ามานั่งอยู่ข้างๆ เราจังเลยเนอะ"
ต่อมาไม่นาน หญิงสาวก็ได้เป็นแฟน กับผู้ชายคนนั้นจริงๆ
วันนึงหญิงสาวบอกกับ เพื่อนชายของตนว่า
"นี่ เธอ ไม่ต้องมาส่งเราทุกวันแล้วแหละ ตอนนี้เค้าจะมาส่งเราแล้ว
เราไม่อยากให้ เค้าเข้าใจ ผิดน่ะ"
"อืม" ฝ่าย ชายตอบรับ และเขาก็ไม่ได้ไปส่งหญิงสาวอีก
ต่อมาหญิงสาวเกิดทะเลาะกับแฟน ของตน
จึงมาปรึกษาเพื่อนชาย
ว่า
"เธอ! เด๋ว นี้เขาไม่ค่อยสนใจเราเลยแหละ
เธอว่า... เราจะทำอย่างไร ดีหล่ะ!"
"ก้อ เธอ ยังรักเค้าอยู่หรือป่าวหล่ะ" ฝ่ายชายถาม
"ก้อรักสิ และก้อรักมากด้วย"
"ถ้าอย่างนั้น ก็มอบความรักให้เขาต่อไปสิ ก้อเธอรักเค้านี่หน่า"
"อืม ม" หญิงสาวทำตามคำแนะนำของเพื่อนชาย
หลังจากนั้น ... วันหนึ่ง
ระหว่างที่เพื่อนชายหนุ่ม เดินกลับบ้าน เค้าเห็นหญิงสาว
นั่งร้องไห้อยู่ข้างทาง
"เธอ เป็น อะไรหน่ะ ทำไมถึงร้องไห้ มีอะไรให้เราช่วยไหม"
"เค้าไม่ รักเราเลยหล่ะ เขาเปลี่ยนไป
เด๋วนี้เขาไม่เคยมาส่งเรา ที่บ้านเลย"
"แล้วเราจะ ช่วยอะไรเธอได้บ้างหล่ะ"
"ช่วยอยู่ กับเราซักพักได้ไหม?" หญิงสาวร้องขอ
ก้อได้ซิ! ทำไมจะไม่ได้หล่ะ
ทั้งสองได้นั่งอยู่ด้วยกัน โดยไม่พูดจาอะไรกันเลย
ในที่สุดหญิงสาวก็เอ่ย ขึ้นมาว่า
"เราควรจะ ทำอย่างไรดี เธอจะช่วยบอกเราได้ไหม
ว่าเราควรจะทำอย่างไร
ดี"
"เธอยังรัก..เขาอยู่หรือป่าวหล่ะ"
"รักสิ เรา รักเค้ามากเลย"
"แต่เค้า ไม่รักเราเลยนี่หน่า" หญิงสาวร้องไห้โฮ
"แต่เธอก็รัก..เขาไม่ใช่เหรอ"
และชายหนุ่มก็ไปส่งหญิงสาว ที่บ้านอย่างที่เคยทำมาแต่ก่อน
"ถ้า เมื่อไหร่...ก็ตาม
ที่เธออยากให้เรามาส่งเธอที่บ้าน อย่าลืมเรียกเรา นะ"
"อืม" และ หญิงสาวก็เดินขึ้นบ้านไป

ต่อมาวันหนึ่งชายหนุ่มได้ รับโทรศัพท์จากหญิงสาว
"เราไม่ไหวแล้ว ช่วยมารับเราที"
เสียงของหญิงสาวดูช่าง อ่อนล้า และหมดกำลัง
เธอกำลังร้องไห้อย่างฟูมฟายอยู่
ชายหนุ่มได้ไปหาเธอและพาเธอมาส่งบ้าน
เธอยังคงถามชายหนุ่มนั้น เหมือนที่เคยถามมา ...
"เราจะทำอย่างไรต่อไปดี"
เราไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว..ดูยังไง ๆ เขาก็เหมือนไม่ได้รักเราเลย
"แล้วเธอเลิก รักเค้าแล้วเหรอ"
"ป่าว! เรา ยังรักเค้ามาก เรายังรักเขาอยู่เหมือนเดิม"
"งั้นก็ เหมือนที่เราเคยพูดไว้
จงรักเขาต่อไป..แม้มันจะเจ็บบ้างก็ตาม
เพราะมันไม่สำคัญหรอกว่า เขาจะรักเธอไหม..? แต่ถ้าเธอยังรักเขา
เธอก็คงทำได้แค่เพียงรักเขา...และจงรักเขาให้มากกว่าเดิม
เพื่อแสดงให้เขารู้ว่าเธอรักเขามาก และก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
มีแต่เพิ่มมากขึ้น"
อือ ม..แล้วหญิงสาวก็เดินขึ้นบ้านไป และในที่สุดวันที่เธอเรียนจบก็มาถึง
เพื่อนชายหนุ่มของเธอมาแสดงความยินดีกับเธอ
เธอรู้สึกแปลกใจมาก ที่เพื่อนชายหนุ่มของเธอ ยังเรียนไม่จบ
เธอถามเขาว่า ทำไม..?
ชายหนุ่มตอบว่า เขาขี้ เกียจไปหน่อย
ทำให้เขาต้องเรียนซ้ำวิชา หนึ่งจึงยังเรียนไม่จบ
หญิง สาวแปลกใจ เพราะตลอดมา ชายหนุ่มคนนี้เป็นคนขยัน
แต่ก็ไม่ได้เซ้าซี้อะไรต่อ..
และต่อมาไม่นานแฟนของหญิงสาว ก็ได้มาขอเธอแต่งงาน
เนื่องด้วยเห็นถึงความรัก ที่หญิงสาวมีให้
หญิงสาวจึงได้ไปชวนเพื่อนชาย เพื่อให้มางานแต่งของเธอ
"เราไม่ว่างจริงๆ เราติดธุระน่ะ!
ขอโทษด้วยนะ"

เพื่อนชายตอบเธอด้วยน้ำ เสียงแผ่วเบา
หญิงสาวโกรธและเสียใจที่ เพื่อนชายไม่ยอมมางานแต่ง จึงวางหูกระแทกไป
แต่หญิงสาวก็ต้องประหลาดใจ เมื่อวันที่เธอแต่งงาน
ชายหนุ่มได้มาปรากฎตัวก่อนที่งาน แต่งจะจบลง
"ยินดีด้วย นะ เรามาแล้วหล่ะ"
หญิงสาวดีใจมากที่เห็นเพื่อนชาย ของเธอมา
ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม
เธอรู้สึกมีความสุขมาก ถึงกับกลั้นน้ำตาไม่ให้มันไหลออกมาไม่ได้
และเพื่อนชายก็พูดว่า เธอมีอะไรให้เราช่วยไหม..?
ยิ่งทำให้เธอร้องไห้หนักกว่าเดิม..
...........................
ต่อมาหญิงสาวก็มีความสุข กับชีวิตแต่งงานของเธอ
จนไม่มีเวลาได้ติดต่อกับเพื่อนชายอีกเลย
จนวันหนึ่งหญิงสาวได้ ทะเลาะกับสามีของตน
หญิงสาวไม่รู้จะไปปรึกษาใคร จึงนึกถึงเพื่อนชายขึ้นมา
แม้ว่าหญิงสาวจะโทรไปหาเท่าไหร่?
ก็ไม่สามารถติดต่อกับชายหนุ่มคนนั้นได้เลย
เขาจึงโทรไปหาเพื่อนของชายหนุ่มคนนั้น
เพื่อนของชายหนุ่มเล่า ว่า ชายหนุ่มเป็นโรคร้าย เขาไม่สามารถไปไหนได้
ตอนนี้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล... มาร่วมหลายเดือนแล้ว
หญิงสาวตกใจมาก ถามว่า..เขาเป็นอะไร?
เพื่อนชายหนุ่มบอกว่า อาการเขากำเริบ เพราะวันที่ชายหนุ่มต้องมาผ่าตัด
ชายหนุ่มดัน ...หายตัว ไปเฉย ๆ โดยไม่มีใครรุ้
และเพื่อนของชายหนุ่ม ก็ยังบอกอีก ว่า ..."มันเป็นนิสัยเสียของมันหน่ะ
มันชอบหายตัวไปไหนก็ไม่รู้ ในช่วงเวลาสำคัญๆ
คราวที่แล้วตอนสอบไล่ มันก็หายตัวไปจากห้องสอบเฉยเลย"
ไม่รู้มันหายไปไหน..ถามใคร ก็ไม่มีใครรู้
หญิงสาวตกใจมาก เลยขอที่อยู่ของโรงพยาบาลที่ชายหนุ่มรักษาตัว
หญิงสาวไปเยี่ยมชายหนุ่ม ที่โรงพยาบาล เมื่อเปิดประตูเข้าไป
ก็ต้อง ตกใจ ! ชายหนุ่มที่เคยดูแข็งแรง กับผอมซูบ ไม่มี แรง
เมื่อชายหนุ่มเห็นเธอก็ดีใจ ทักทาย
เธอเป็นการใหญ่
"เป็นอย่าง ไรมั่ง ไม่เจอกันตั้งนานเลยน่ะ"
หญิงสาวนิ่งเงียบซักพัก น้ำตาหญิงสาวก็ไหลออกมา
"อ้าวร้อง ไห้ทำไมหล่ะ เธอหน่ะ ไปทะเลาะกับแฟนมาอีกแล้วเหรอ
จะให้เราช่วยอะไรไหม...?
แต่เราก็คงจะแนะนำเธอ ได้เหมือนเดิมนะ"
หญิงสาวเข้าไปหาชายหนุ่ม แล้วก็บอกกับชายหนุ่มว่า

วันที่เธอ มารับเราเป็นวันสอบไล่เธอใช่ไหม..?"
ชายหนุ่มทำหน้าตกใจและไม่กล้าพูดอะไรทั้งสิ้น กลับนิ่งเงียบไป
หญิงสาวจึงพูด ต่อ...

"และวันที่ เธอต้องผ่าตัดใหญ่ เธอกลับมางานแต่งงานของเราใช่ไหม..?"
ชายหนุ่มไม่รู้จะพูดอะไร อีกแล้ว กลับนิ่งเงียบกว่าเดิม

หญิงสาวเข้าไปกอดชายหนุ่ม แล้วพูดด้วยน้ำเสียงสั่น ๆ
"ตลอดเวลา เรารักแต่คนอื่น
มองแต่คนอื่นเรากลับไม่รู้เลยว่าเธอรักเรามากแค่ ไหน
เรารู้สึกเสียใจจริงๆ ที่ ไม่ได้รักเธอมากกว่านี้"
ชายหนุ่มได้แต่ยิ้มแล้วก็บอก
กับหญิงสาวด้วยเสียงอันแผ่วเบาว่า

"เราบอกเธอ แล้วไง..ถ้าเรารักใครสักคน เราก็ต้องรักเขาให้มากๆ
และมากขึ้นกว่าเดิม
มันไม่สำคัญหรอก..ว่าเขาจะรักเราหรือไม่
มันสำคัญแค่เพียงว่า..เรายังรักเธออยู่หรือเปล่า
แค่เราสามารถช่วยเธอได้ นั่นมันก็เป็นความสุขของเราแล้ว
ต่อให้เราจะเจ็บสักแค่ไหน..เราก็ยังรักเธอต่อไป
และไม่เคยคิดจะเปลี่ยนแปลง..

หญิงสาวรู้สึกเสียใจมาก นั่งร้องไห้โฮ...อยู่ที่ตักของชายหนุ่ม

ชายหนุ่มจึงพูด... ขึ้น ว่า

"ถ้าเราหาย เมื่อไหร่... เราจะไปส่งเธอที่บ้านอีกนะ"