วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552

พบแล้วรักแท้


นักวิทยาศาสตร์ใช้ผลการสแกนสมองเพื่อพิสูจน์ว่ารักแท้มีจริง โดยผลการทดลองได้แสดงให้เห็นว่าคู่รักที่รักกันมากว่ายี่สิบปีมีรูปแบบการตอบสนองในสมองแบบเดียวกับคู่รักข้าวใหม่ปลามัน

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสโตนีบรูคได้ใช้ภาพสแกนสมองของคู่รักที่รักกันมากว่ายี่สิบปี เทียบกับของคู่รักที่พึ่งรักกันใหม่ ๆ แล้วพวกเขาพบว่าหนึ่งในสิบของคู่รักที่อยู่กันมานานมีรูปแบบของปฏิกิริยาเคมีในสมองเมื่อเห็นรูปของคู่รักแบบเดียวกับคนที่พึ่งมีความรักใหม่ ๆ

จากงานวิจัยที่เคยมีผู้ทำก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่าในระยะแรกเมื่อเริ่มมีความรัก อารมณ์ของเราจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และมักจะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกว่า Limerence แต่ภาวะเช่นนี้จะเริ่มลดลงไปเมื่อเวลาผ่านไปประมาณสิบห้าเดือน และหายไปอย่างถาวรในช่วงเวลาสิบปี แต่ผลการทดลองครั้งนี้ใช้ให้เห็นว่าแม้แต่ในคู่รักที่รักกันมานาน ๆ ก็ยังสามารถพบภาวะเช่นนี้ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งนักวิจัยเรียกคู่รักแบบนี้ว่า หงษ์คู่ เพราะว่าหงษ์เป็นสัตว์ที่เราพบว่ามีรูปแบบของพฤติกรรมแบบเดียวกัน โดยถ้าหงษ์ได้เห็นรูปของคู่ของมัน ผลของการสแกนสมองด้วย MRI จะแสดงภาวะที่ Dopamine ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่กระต้นให้เกิดความพึงพอใจ ถูกแพร่กระจายเต็มสมองแบบเดียวกับคู่รักที่เป็นมนุษย์

นักวิทยาศาสตร์สรุปว่า ผลการทดลองได้ขัดแย้งกับความเชื่อดั้งเดิมที่เชื่อกันว่าความรักจะหวานช่ำที่สุดเมื่อคบกันไปได้ 12-15 เดือนและจะลดลงมากที่สุดเมื่อคบกันไปได้ 3-7 ปี (อันเป็นที่มาของความเชื่อเรื่อง 3 ปี หรือ 7 ปี อันตรายนั่นเอง)

ไม่มีความคิดเห็น: